05 ธันวาคม, 2552

มองเขา มองเรา : 912 นายจ้างมองแรงงานไทยอย่างไร

Re-employment rate: เครื่องบ่งชี้ถึงความสำเร็จของแรงงานและระบบการจัดส่ง
จากข้อมูลของกระทรวงแรงงานเกาหลี แรงงานไทยติดอันดันที่ 11จาก 13 ประเทศของอัตราการได้รับการต่อสัญญาจ้าง (Re-employment) ภายหลังทำงานครบ 3 ปี โดยวิเคราะห์ข้อมูลจากปี 2547-มีนาคม 2552 อัตราการได้รับการต่อสัญญาจ้างเป็นเครื่องบ่งชี้ถึงความสำเร็จของแรงงานและระบบการจัดส่ง แรงงานไทยได้รับความนิยมจากนายจ้างและต่อสัญญาจ้างให้เพียง 66.5% ติดอันดับ 11 รองจากอุซเบกีซสถาน ซึ่งมากกว่าไทยถึง 5.9 จุด อะไรเป็นสาเหตุให้แรงงานไทยติดอันดับรั้งท้ายได้ถึงเพียงนี้

แรงงานไทยก็ใช่ว่าจะไม่มีคะแนนนิยมในหมู่นายจ้างเลย ข้อดีของแรงงานไทยที่เห็นได้คือ กล้าสู้งานหนัก มีทักษะฝีมือดี และที่แน่นอนคือมีมนุษยสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานดีเยี่ยมซึ่งเป็นเอกลักษณ์ของชนชาติอยู่แล้ว แต่จุดอ่อนเรื่องการไม่รักษาความสะอาดของร่างกายและที่อยู่อาศัยยังคงเป็นข้อตำหนิของนายจ้างต่อแรงงานไทยเรื่อยมา มีเพียงสองประเทศที่มีจุดอ่อนด้านนี้คือไทย และบังคลาเทศ นอกจากนั้นยังมีจุดอ่อนในด้านสมรรถภาพทางกายที่ไม่เอื้ออำนวยต่อการทำงานหนัก การไม่ปฏิบัติตามกฎระเบียบของที่ทำงาน และที่สำคัญเรื่องความสามารถในการสื่อสารภาษาเกาหลีอยู่ในระดับต่ำมาก


 และนี่คือ 13 อันดับของประเทศที่มีอัตราการได้ต่อสัญญาจ้างปีที่ 4 โดยการเปรียบเทียบจำนวนแรงงานที่ทำงานครบ 3 ปี ต่อจำนวนแรงงานที่ได้รับการต่อสัญญาฯปีที่ 4 (ข้อมูลจากกระทรวงแรงงานเกาหลี สำรวจระหว่างปี 47-มีนาคม 52)

1 ปากีสถาน  94.3 %
2 บังคลาเทศ  92.2 %
3 เนปาล  90.7 %
4 เมียร์ม่า  87.0 %
5 เวียดนาม  83.1 %
6 ศรีลังกา  81.8 %
7 ฟิลิปปินส์  80.0 %
8 คีร์กิซสถาน  76.9 %
9 กัมพูชา  75.3 %
10 อุซเบกิซสถาน  72.4 %
11 ไทย  66.5 %
12 อินโดนีเซีย  63.9%
13 มองโกเลีย  44.1 %


อันที่จริงปัญหาในการสื่อสารเป็นจุดอ่อนของทุกประเทศยกเว้นบังคลาเทศ นั่นย่อมหมายความว่าถึงแม้ไทยและ บังคลาเทศจะมีจุดอ่อนเหมือนกันที่ประเทศอื่นๆไม่มี แต่จุดอ่อนบางข้อของไทยซึ่งเป็นปัญหาที่สำคัญอันดับหนึ่งกลับเป็นจุดแข็งของบังคลาเทศและมีเพียงประเทศเดียวที่มีจุดแข็งด้านนี้ บังคลาเทศกินขาดทุกๆประเทศในเรื่องการสื่อสารภาษาเกาหลี อัตราการได้รับการต่อสัญญาจ้างของบังคลาเทศติดอันดับ 2 (92.2%) รองจากปากีสถานเพียง 2.1 จุด ต่างจากไทยถึง 9 อันดับ

หากเปรียบเทียบจุดแข็ง-จุดอ่อนของทั้ง 13 ประเทศ(ตามตารางด้านล่าง)แล้ว อาจกล่าวได้ว่า แม้จะมีคุณลักษณะเด่นที่เหมาะสมต่อการทำงานมากด้านเพียงใดก็ยังไม่โดดเด่นเท่าความสามารถในการสื่อสารภาษาเกาหลี

นอกจากนั้นสิ่งเหล่านี้ยังส่งผลกระทบต่ออัตราการได้รับการต่อสัญญาจ้าง (Re-employment)และการพิจารณาจัดสรรโควตาแรงงานไทยในแต่ละปี

  • ปฏิเสธการทำสัญญาจ้างสูงสุดเป็นอันดับ 1 ในจำนวน 15 ประเทศ หลบหนีนายจ้างสูงเป็นอันดับ 2 รองจากมองโกเลีย
  • สอบผ่านภาษาเกาหลีน้อย ในขณะที่นายจ้างนิยมเลือกแรงงานจากประเทศที่มีบัญชีรายชื่อจำนวนมากๆ
  • สื่อสารกับนายจ้างไม่ได้ ทำให้เกิดปัญหาถูกเอารัดเอาเปรียบ ขัดแย้งกับนายจ้าง
  • ไม่สามารถปรับตัวและทนกับสภาพงานประเภท 3D ได้ (3D : Dangerous เสี่ยงอัตราย , Dirty สกปรก, Difficult ยากลำบาก)
  • ดื่มสุรา ทะเลาะวิวาท เล่นการพนัน และยุ่งเกี่ยวกับยาเสพติดมากกว่าแรงงานชาติอื่นๆ
จุดแข็ง - จุดอ่อนของแรงงานทั้ง 13 ประเทศ

ไทย (อันดับ 11)
กล้าสู้งานหนัก - สูง สมรรถภาพทางกาย-ต่ำ
ประสิทธิผลของงาน - สูง ความสามารถในการสื่อสารภาษาเกาหลี - ต่ำ
มีทักษะฝีมือ - สูง การปฏิบัติตามกฎระเบียบ - ต่ำ
ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน-สูง การรักษาความสะอาด - ต่ำ

บังคลาเทศ (อันดับ 2)
การขาดงานโดยไม่ได้รับอนุญาต - ต่ำ ประสิทธิผลของงาน - ต่ำ
ความสามารถในการสื่อสารภาษาเกาหลี -สูง การรักษาความสะอาด - ต่ำ
ความเข้าใจในงาน - สูง   ความว่องไวในการทำงานและความรับผิดชอบ - ต่ำ

เวียดนาม
ทำงานรวดเร็ว – สูง ความสามารถในการสื่อสารภาษาเกาหลี –ต่ำ
ประสิทธิผลของงาน – สูง การปฏิบัติตามกฎระเบียบ – ต่ำ
ความสุภาพ มีมารยาท – สูง ความสามารถในการปรับตัว – ต่ำ
อุปนิสัยในการดำรงชีวิต – สูง ความสัมพันธ์กับนายจ้าง - ต่ำ

ฟิลิปปินส์
กล้าสู้งานหนัก – สูง ทำงานรวดเร็ว – ต่ำ
ประสิทธิผลของงาน – สูง ความสามารถในการสื่อสารภาษาเกาหลี –ต่ำ
การริเริ่มสร้างสรรค์ - สูง การปรับตัวในการทำงาน -ต่ำ

อินโดนีเซีย
อุปนิสัยในการดำรงชีวิต – สูง การเข้าใจในงาน - ต่ำ
ความมีชื่อเสียงในหมู่นายจ้าง - สูง ความละเอียดรอบคอบ - ต่ำ
การสร้างความสนิทสนม คุ้นเคย -สูง ความซื่อสัตย์ในการทำงาน - ต่ำ

มองโกเลีย
ความสามารถในการปรับตัวในการทำงาน -สูง ความสัมพันธ์ต่อเพื่อนร่วมงานและนายจ้าง- ต่ำ
การสร้างความสนิทสนม คุ้นเคย -สูง กล้าสู้งานหนัก – ต่ำ
การปฏิบัติตามกฎระเบียบ – สูง ความแข็งขันและว่องไวในการทำงาน - ต่ำ

ศรีลังกา
การขาดงาน - ต่ำ ประสิทธิผลของงาน – ต่ำ
การริเริ่มสร้างสรรค์ - สูง สมรรถภาพทางกาย-ต่ำ
การปรับตัวให้เข้ากับสังคมเกาหลี - สูง การปรับตัวในการทำงาน -ต่ำ

อุซเบกิซสถาน
สมรรถภาพทางกาย- สูง ประสิทธิผลของงาน – ต่ำ
ความบกพร่องในการทำงาน - ต่ำ ความซื่อสัตย์ในการทำงาน - ต่ำ
ความเป็นมิตร และความสามัคคี -สูง ความแตกต่างทางวัฒนธรรมและอาหาร -สูง

เนปาล
การริเริ่มสร้างสรรค์ - สูง ประสิทธิผลของงาน – ต่ำ
ความสุภาพ มีมารยาท – สูง สมรรถภาพทางกาย ความว่องไวในการทำงาน-ต่ำ
การช่วยเหลือในที่ทำงาน -สูง ความสามัคคีกับเพื่อนแรงงานเกาหลี - ต่ำ

กัมพูชา
ความสุภาพ มีมารยาท – สูง ประสิทธิผลของงาน – ต่ำ
บุคลิกภาพดี -สูง ขาดงาน มาสาย - สูง
ความเป็นมิตร -สูง การริเริ่มสร้างสรรค์ - ต่ำ

ปากีสถาน
ขาดงานโดยไม่ได้รับอนุญาต -ต่ำ ความสุภาพ มีมารยาท – ต่ำ
สมรรถภาพทางกาย-สูง ความอดทนต่อการงานหนัก- ต่ำ
การปรับตัวในการทำงาน -สูง ความแตกต่างทางสังคมและอาหาร -สูง

เมียนมาร์
การเป็นมิตร ความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงาน-สูง ประสิทธิผลของงาน – ต่ำ
การริเริ่มสร้างสรรค์ - สูง ขาดงาน - สูง
สมรรถภาพทางกาย-สูง ความแตกต่างทางสังคม -สูง

คีร์กิซสถาน
ความสามัคคีกับเพื่อนแรงงานเกาหลี - สูง สุภาพอ่อนโยนและเป็นมิตร - ต่ำ
สมรรถภาพทางกาย-สูง กล้าสู้งานหนัก – ต่ำ
ประสิทธิผลของงาน – สูง ขาดงานโดยไม่ได้รับอนุญาต –สูง

10 พฤศจิกายน, 2552

ตัวอย่างข้อสอบภาษาเกาหลี EPS-KLT


สวัสดีค่ะ ผู้เขียนในฐานะของผู้ที่ทำงานโดยตรงด้านการจัดส่งแรงงานไปทำงานระบบ EPS สาธารณรัฐเกาหลี มองเห็นปัญหาในทุกขั้นตอนของกระบวนการจัดส่ง และปัญหาสำคัญที่อาจจะส่งผลกระทบต่อการส่งออกแรงงานมากที่สุดเห็นจะเป็นเรื่องของความเสียเปรียบในเรื่องความสามารถในการสื่อสารของแรงงานไทยกับบุคคลต่างชาติ ต่างภาษา โดยเฉพาะภาษาเกาหลี ซึ่งทางการเกาหลีกำหนดว่า แรงงานที่จะเดินทางเข้าไปทำงานตามระบบ EPS ได้นั้น ต้องผ่านการสอบความสามารถภาษาเกาหลี หรือเรียกกันว่า EPS-KLT(Employment Permit System for Korean Language Test)

ประเทศที่จัดส่งแรงงานไปทำงานสาธารณรัฐเกาหลีมีทั้งหมด 15 ประเทศ ซึ่งรวมถึงประเทศไทยด้วย ซึ่งการสอบดำเนินการโดยสถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เกาหลี (HRD) หน่วยงานภายใต้กระทรวงแรงงานเกาหลี โดยกรมการจัดหางาน กระทรวงแรงงานเป็นผู้ประสานดำเนินการฝ่ายไทย ที่ผ่านมาไทยได้มีการสอบ EPS-KLT แล้วทั้งสิ้น 6 ครั้งใน 5 ปี สัดส่วนระหว่างจำนวนผู้เข้าสอบและผู้สอบผ่านในแต่ละปีอยู่ในเกณฑ์ที่ต่ำมาก หากผลการสอบอยู่ในระดับที่ต่ำลงทุกปี แนวโน้มโควตาการจ้างแรงงานไทยในปีต่อๆไปอาจลดลงเรื่อยๆ

เพื่อเป็นแนวทางในการเตรียมตัวสอบในครั้งต่อๆไป สถาบันพัฒนาทรัพยากรมนุษย์เกาหลี (HRD) ได้จัดทำหนังสือตัวอย่างข้อสอบ EPS-KLT พร้อม VCD เผยแพร่ผ่านทางเว็บไซต์และแจกจ่ายแก่หน่วยงานจัดส่ง โดยมีเนื้อหาประกอบด้วย ตัวอย่างคำถามการฟัง จำนวน 960 ข้อ พร้อมเฉลย ซึ่งต้องเปิดอ่านพร้อมไฟล์เสียง ตัวอย่างคำถามการอ่าน จำนวน 960 ข้อ พร้อมเฉลย และการฝึกออกเสียงและคำศัพท์เบื้องต้น ตัวอย่างข้อสอบดังกล่าวเป็นแนวข้อสอบที่ออกสอบจริง เป็นภาษาเกาหลีทั้งหมด นอกจากจะทำให้ทราบความหมายของคำถามและคำตอบแล้ว ยังทราบในสิ่งที่ควรจะทราบเป็นอันดับแรกในการทำข้อสอบจริงด้วยคือ วิธีการทำข้อสอบ ผู้เขียนเชื่อมั่นว่าหากฝึกปรือเป็นประจำ อย่างน้อยก็จะทำให้ผู้สอบมีควมมั่นใจและ มีสมาธิในการฟังข้อสอบมากขึ้นค่ะ ขอให้โชคดีในการสอบครั้งหน้า สวัสดีค่ะ

คลิกเพื่อdonwload

http://sites.google.com/site/thaieps/-eps-klt